นอนหละ..น่ออ...(กินทามาะ)

นอนหละ..น่ออ...(กินทามาะ)

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไปเจอบทความน่าสนใจมาครับพี่น้อง




ถ้าท่านเดินในร้านหนังสือญี่ปุ่น ท่านจะเห็นแผนกหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ก นิยาย วรรณกรรม และการ์ตูน บนชั้นวางหรูหรา แยกหมวดหมู่สำนักพิมพ์อย่างชัดเจนในระดับเดียวกัน แต่ถ้าท่านเดินร้านหนังสือในไทย หรือแม้แต่ในอเมริกา การ์ตูนจะถูกจัดออกมากองในแผงหน้าร้าน แยกต่างหากจาก หนังสืออื่น ที่เหมาะสมจะเอาขึ้นชั้นวางมากกว่า
ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่น มือของท่านจะสัมผัสถึงเนื้อกระดาษที่แสนจะเนียน ผลิตด้วยกระดาษถนอมสายตา ถ้าเพ่งมอง ท่านจะมองเห็นจุดอันละเอียดที่เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่ประณีต แต่ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายในไทยหรืออเมริกา ท่านจะรู้สึกว่าต้องไปล้างมือ เพราะกระดาษคุณภาพแย่ยิ่งกระดาษหนังสือพิมพ์ คุณภาพงานพิมพ์ก็ห่วยจนบางครั้งหมึกเลอะหน้ากระดาษถ้าท่านเดินตามถนนญี่ปุ่น หรือไปเดินแถวๆสุขุมวิท ท่านจะเห็นผู้ใหญ่ใส่สูทผูกเน็คไท นั่งอยู่ในร้านอาหารหรูหรา กางการ์ตูนอ่านอย่างตั้งใจราวกับเป็นรายงานตลาดหุ้น แต่ถ้าท่านเดินอยู่เมืองไทย ท่านจะเห็นเด็กไร้สมองนั่งหัวเราะไปกับการ์ตูน อันนั้นไม่เท่าไหร่นักถ้าเป็นเด็ก แต่ถ้าวัยรุ่นหรือคนทำงานเปิดหนังสือการ์ตูนอ่าน หรือแม้แต่เดินถือหนังสือการ์ตูนละก็ ท่านจะรู้สึกได้ถึงสายตาที่ดูถูกเหยียดหยามระดับสติปัญญาของคนรอบข้าง
ทำไมเรากางหนังสือนิยายมังกรหยกของกิมย้งเล่มโตอ่านแล้วมีสายตาชื่นชมว่าอ่านหนังสือมีระดับ แต่เรากางหนังสือการ์ตูนมังกรหยกที่วาดโดยหลี่จื้อชิงอ่านแล้วจึงโดนดูถูกด้วยสายตาคู่เดียวกัน ผมอ่านนิยายสามก๊ก ผมเป็นผู้ทรงความรู้ ในขณะที่ผมอ่านการ์ตูนศึกสามก๊ก ผมเป็นเด็กไร้สาระ
นี่แสดงถึงระดับของการ์ตูนที่เป็นอยู่ในสังคมไทย หรือแม้แต่สังคมฝรั่ง เพื่อนผมที่อยู่ในอุรุกวัยหรืออังกฤษ ก็บ่นแบบเดียวกันรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้ สรุปว่า การ์ตูนเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นพิษภัยต่อเยาวชน โดยเสนอว่าการ์ตูนส่วนหนึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก
ผมเห็นด้วยกับรายการนั้นที่ว่าการ์ตูนบางส่วนไม่เหมาะสมกับเด็ก แต่เราจะจัดการ์ตูนเป็นของเด็กเท่านั้นหรือ?ก่อนจะวิจารณ์การ์ตูน ต้องศึกษาประวัติของการ์ตูนก่อน
คำว่า การ์ตูน (Cartoon) เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Cartone แปลว่า กระดาษใหญ่การ์ตูนกำเนิดในปี 1843 โดย John Leech วาดลงนิตยสาร Punch Magazine
หลังจากนั้นเป็นต้นมา การ์ตูนก็เริ่มแยกตัวออกจากภาพเขียน โดยมีการเขียนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา เรียกว่า Comics และมีพัฒนาการตามกระแสสังคม
การ์ตูนฮีโร่ต่างๆ ในอเมริกา สะท้อนปัญหาสังคมในขณะนั้น และมีเนื้อหาเข้มข้นเป็นที่สุดเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ขึ้น จนรัฐบาลถึงกับแบนการ์ตูนพวกนี้ระยะหนึ่ง
ประวัติของการ์ตูนของฝรั่งนั้นมีมายาวนาน แต่จะไม่ขอพูดถึงในที่นี้ เพราะหัวข้อคือ การ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ใช่การ์ตูนไทย หรือการ์ตูนฝรั่ง
คำว่า Comics ตรงกับภาษาญี่ปุ่นว่า มังงะ (漫画)มังงะ พัฒนามาจากการรวมกันระหว่าง อุกิโยเอะ (浮世絵 - ภาพเขียนแบบญี่ปุ่น) กับการเขียนภาพแบบตะวันตก มีกำเนิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง
คำว่า มังงะ มีความหมายตรงๆว่า ภาพที่ไม่แน่นอน (


Anna_Hawkinsกันยายน 2548

จากเวป hetaforce.exteen.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น