นอนหละ..น่ออ...(กินทามาะ)

นอนหละ..น่ออ...(กินทามาะ)

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น ต่อ สังคมไทย


ถ้าท่านเดินในร้านหนังสือญี่ปุ่น ท่านจะเห็นแผนกหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ก นิยาย วรรณกรรม และการ์ตูน บนชั้นวางหรูหรา แยกหมวดหมู่สำนักพิมพ์อย่างชัดเจนในระดับเดียวกัน แต่ถ้าท่านเดินร้านหนังสือในไทย หรือแม้แต่ในอเมริกา การ์ตูนจะถูกจัดออกมากองในแผงหน้าร้าน แยกต่างหากจาก หนังสืออื่น ที่เหมาะสมจะเอาขึ้นชั้นวางมากกว่า
ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่น มือของท่านจะสัมผัสถึงเนื้อกระดาษที่แสนจะเนียน ผลิตด้วยกระดาษถนอมสายตา ถ้าเพ่งมอง ท่านจะมองเห็นจุดอันละเอียดที่เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่ประณีต แต่ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายในไทยหรืออเมริกา ท่านจะรู้สึกว่าต้องไปล้างมือ เพราะกระดาษคุณภาพแย่ยิ่งกระดาษหนังสือพิมพ์ คุณภาพงานพิมพ์ก็ห่วยจนบางครั้งหมึกเลอะหน้ากระดาษถ้าท่านเดินตามถนนญี่ปุ่น หรือไปเดินแถวๆสุขุมวิท ท่านจะเห็นผู้ใหญ่ใส่สูทผูกเน็คไท นั่งอยู่ในร้านอาหารหรูหรา กางการ์ตูนอ่านอย่างตั้งใจราวกับเป็นรายงานตลาดหุ้น แต่ถ้าท่านเดินอยู่เมืองไทย ท่านจะเห็นเด็กไร้สมองนั่งหัวเราะไปกับการ์ตูน อันนั้นไม่เท่าไหร่นักถ้าเป็นเด็ก แต่ถ้าวัยรุ่นหรือคนทำงานเปิดหนังสือการ์ตูนอ่าน หรือแม้แต่เดินถือหนังสือการ์ตูนละก็ ท่านจะรู้สึกได้ถึงสายตาที่ดูถูกเหยียดหยามระดับสติปัญญาของคนรอบข้าง
ทำไมเรากางหนังสือนิยายมังกรหยกของกิมย้งเล่มโตอ่านแล้วมีสายตาชื่นชมว่าอ่านหนังสือมีระดับ แต่เรากางหนังสือการ์ตูนมังกรหยกที่วาดโดยหลี่จื้อชิงอ่านแล้วจึงโดนดูถูกด้วยสายตาคู่เดียวกัน ผมอ่านนิยายสามก๊ก ผมเป็นผู้ทรงความรู้ ในขณะที่ผมอ่านการ์ตูนศึกสามก๊ก ผมเป็นเด็กไร้สาระ
นี่แสดงถึงระดับของการ์ตูนที่เป็นอยู่ในสังคมไทย หรือแม้แต่สังคมฝรั่ง เพื่อนผมที่อยู่ในอุรุกวัยหรืออังกฤษ ก็บ่นแบบเดียวกันรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้ สรุปว่า การ์ตูนเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นพิษภัยต่อเยาวชน โดยเสนอว่าการ์ตูนส่วนหนึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก
ผมเห็นด้วยกับรายการนั้นที่ว่าการ์ตูนบางส่วนไม่เหมาะสมกับเด็ก แต่เราจะจัดการ์ตูนเป็นของเด็กเท่านั้นหรือ?ก่อนจะวิจารณ์การ์ตูน ต้องศึกษาประวัติของการ์ตูนก่อน
คำว่า การ์ตูน (Cartoon) เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Cartone แปลว่า กระดาษใหญ่การ์ตูนกำเนิดในปี 1843 โดย John Leech วาดลงนิตยสาร Punch Magazine
หลังจากนั้นเป็นต้นมา การ์ตูนก็เริ่มแยกตัวออกจากภาพเขียน โดยมีการเขียนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา เรียกว่า Comics และมีพัฒนาการตามกระแสสังคม
การ์ตูนฮีโร่ต่างๆ ในอเมริกา สะท้อนปัญหาสังคมในขณะนั้น และมีเนื้อหาเข้มข้นเป็นที่สุดเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ขึ้น จนรัฐบาลถึงกับแบนการ์ตูนพวกนี้ระยะหนึ่ง
ประวัติของการ์ตูนของฝรั่งนั้นมีมายาวนาน แต่จะไม่ขอพูดถึงในที่นี้ เพราะหัวข้อคือ การ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ใช่การ์ตูนไทย หรือการ์ตูนฝรั่ง
คำว่า Comics ตรงกับภาษาญี่ปุ่นว่า มังงะ (漫画)มังงะ พัฒนามาจากการรวมกันระหว่าง อุกิโยเอะ (浮世絵 - ภาพเขียนแบบญี่ปุ่น) กับการเขียนภาพแบบตะวันตก มีกำเนิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง
คำว่า มังงะ มีความหมายตรงๆว่า ภาพที่ไม่แน่นอน (Whimsical Pictures) คำนี้ได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 จากการพิมพ์ โฮคุไซ มังงะ ซึ่งประกอบไปด้วยภาพเขียนต่างๆจากสมุดภาพของศิลปินอุกิโยเอะชื่อดังนามว่า โฮคุไซ แต่สิ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นมังงะในปัจจุบันมากกว่า ได้แต่ กิงะ (ภาพตลก) ซึ่งวาดในศตวรรษที่ 12 โดยศิลปินหลายท่าน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเรื่องและลายเส้นที่เรียบง่าย จึงคล้ายกับมังงะที่เราคุ้นเคยมากกว่า
ดังที่กล่าวว่า มังงะ พัฒนามาจากอุกิโยเอะ + การเขียนแบบตะวันตก สาเหตุที่มีการพัฒนาดังนี้ เริ่มมาจากตอนที่สหรัฐอเมริกาได้เริ่มการค้าขายกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นพยายามพัฒนาตนเองให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงรับศิลปินตะวันตกเข้ามาสอนการวาดภาพต่างๆ เช่น ลายเส้น รูปร่าง และองค์ประกอบสี (สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีการเน้นในงานเขียนแบบอุกิโยเอะ ซึ่งให้ความสำคัญกับความคิดและอารมณ์ความรู้สึกเบื้องหลังภาพมากกว่า) มังงะอย่างในปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อรัฐบาลยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรสื่อต่างๆ และสำนักพิมพ์หลายแห่งก็เริ่มฟื้นตัว
ในศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา มังงะ ก็เข้าใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า Comic แต่ มังงะ นั้นมีความสำคัญกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น มากกว่าที่ Comic มีความสำคัญกับวัฒนธรรมอเมริกัน ในญี่ปุ่นนั้น มังงะได้รับการยกย่องให้เป็นทั้งศิลปะ และวรรณกรรมสมัยใหม่ ในขณะที่ Comic ไม่ใช่
จากที่กล่าวมานั้น จึงไม่แปลกที่ไทยซึ่งรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกเข้ามามากกว่า จึงมองหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น หรือ มังงะ ในแง่ที่เป็นสิ่งไร้สาระ ไม่ได้มองเป็นวรรณกรรมหรือวัฒนธรรม แบบที่ญี่ปุ่นมอง
แต่ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นและอเมริกันมีปัญหาอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ ความรุนแรงและการแสดงออกทางเพศในหนังสือ ญี่ปุ่นยังไม่มีกฎหมายชัดเจนที่จำกัดการวาดมังงะ เพียงแค่มีข้อกำหนดในกฎหมายควบคุมสิ่งพิมพ์ว่า "ห้ามขายสื่อที่ไม่เหมาะสม" ดังนั้น เสรีภาพในการวาดมังงะจึงเปิดกว้าง และมังงะ จึงเป็นสื่อที่ศิลปินสามารถวาดให้กับทุกกลุ่มอายุ และวาดได้ทุกหัวข้อ
กล่าวถึงการ์ตูนญี่ปุ่นในรูปแบบของหนังสือ หรือ มังงะ มาแล้ว คราวนี้จะกล่าวถึงการ์ตูนญี่ปุ่นในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว หรือ อนิเม บ้าง
อนิเม (アニメ) เป็นคำญี่ปุ่น ย่อมาจากคำว่า Animation หรือ ภาพเคลื่อนไหว ศัพท์นี้เป็นคำที่แยก Animation ของฝรั่ง ออกจาก Animation ของญี่ปุ่น มีประวัติยาวนานมากกว่า Animation ของฝรั่ง หัวใจของอนิเมคือการเล่าเรื่อง มิใช่ความสวยงามของภาพและการเคลื่อนไหว ปัจจุบันนี้บริษัทสร้างอนิเมยังยึดติดกับแนวคิดนี้อยู่ คือมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมในตลาดโลกน้อยลง ผมจะไม่เขียนถึงประวัติของอนิเม เพราะยาวมาก ท่านที่สนใจสามารถอ่านประวัติได้จากเว็บไซต์ต่างๆ
การพัฒนามังงะของญี่ปุ่นถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น Shonen Jump ซึ่งเป็นบริษัทมังงะที่ใหญ่ที่สุด มียอดขายสัปดาห์ละ 3 ล้านเล่ม เทียบเท่ากับยอดขายหนังสือการ์ตูนของ Marvel Comics ในสหรัฐฯทั้งเดือน
แต่ยอดขายของอนิเมกลับไม่มากเท่าที่ควร ดังเช่น Production I.G. ซึ่งสร้างอนิเมเรื่อง Ghost in the Shell (ซึ่งพี่น้อง Wachowski ยอมรับว่าเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์ The Matrix) รวมทั้งร่วมสร้างภาพเคลื่อนไหวประกอบภาพยนตร์ Kill Bill Vol I ของเควนติน ทาแรนติโน มีรายได้ในปี 2004 เพียง 2,080 ล้านบาท (กำไร 184 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับ Pixar มีรายได้ในปีเดียวกัน 10,940 ล้านบาท (กำไรกว่า 5,600 ล้านบาท) ด้วยสาเหตุอะไรนั้นท่านสามารถอ่านได้จากบทความในแหล่งอ้างอิงที่ 2. ท้ายบทความนี้
กล่าวถึงบางประเทศบ้าง เช่น จีน เขาพัฒนาลายเส้นพู่กันของเขาเอง พัฒนามาจากศิลปะพู่กันจีนรวมกับการแสดงอารมณ์แบบตะวันตก เป็นการ์ตูนในรูปแบบของเขา ในขณะที่ไทยเรายังหารูปแบบของตัวเองไม่เจอ จะหนักไปทางญี่ปุ่นบ้าง หรือฝรั่งบ้าง เป็นต้น
นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกรัฐบาล มีข้อเขียนลงในหนังสือ PC World ฉบับที่ 24 เดือน สิงหาคม 2548 ว่าวันนี้เรามีแอนิเมเตอร์ฝีมือดีอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ยังน้อยเกินกว่าที่จะสร้างให้เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งได้ เราต้องเริ่งสร้างแอนิเมเตอร์กันขนานใหญ่โดยฝึกฝนคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะทางศิลปะให้มาเพิ่มเติมทักษะทางคอมพิวเตอร์ เราสร้างคนเขียนลายร่ม ลายผ้า ลายโองราชบุรี ลายเบญจรงค์ได้เยี่ยมยอดฉันใด เรายอมสร้างแอนิเมเตอร์ที่เชียวชาญได้ฉันนั้น
วันนี้เรามีนักเขียนและคนเขียนบทฝีมือดีอยู่จำนวนน้อย แต่เรามีนักเขียนและคนเขียนบทที่สร้างบทอันเป็นสากล กินใจคนทุกชาติทุกภาษายิ่งน้อยกว่ามาก เราต้องเร่งสร้างนักเขียน มีโรงเรียนหรือคณะที่สอนการเขียนอย่างจริงจัง มีเวทีส่งเสริมนักเขียนรุ่นใหม่ มีการจัดประกวดวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำหนังสือให้ราคาถูกลง ลดภาษีกระดาษ สร้างห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดสาธารณะ ที่เปิดให้เด็ก เยาวชน คนทั่วไป ได้อ่านหนังสือ อ่านวรรณกรรม อ่านการ์ตูน ชม DVD ที่ให้ความรู้และความบันเทิงในราคาถูก
รัฐบาลต้องส่งเสริมอย่างจริงจังทั้งการสนับสนุนเชิงนโยบาย สร้างความเชื่อมั่น ตั้งกองทุนช่วยเหลือสตูดิโอขนาดเล็ก จัดซื้อเทคโนโลยีใหม่ราคาแพงไว้เป็นกองกลางให้สตูดิโอขนาดเล็กเช่าใช้ เป็นตัวกลางต่อรองจัดซื้อซอฟต์แวร์ราคาถูก ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กำหนดให้สถานีโทรทัศน์ต้องจัดซื้อแอนิเมชันของไทย ควบคู่ไปกับแอนิเมชันของต่างชาติ ฯลฯ
จากข้อเขียนนี้ ผมอยากให้กระทรวง ICT รับนโยบายไปปฏิบัติให้เห็นผลจริง นพ.สุรวงศ์ ท่านกล่าวอย่างชัดเจนว่า เด็ก เยาวชน คนทั่วไป ได้อ่านหนังสือ อ่านวรรณกรรม อ่านการ์ตูน ดังนั้นจึงยืนยันว่า ในวิสัยทัศน์ต่อๆไป การ์ตูน มีค่าเท่ากับ วรรณกรรม และเป็นของคนทั่วไปในสังคม
แต่การ์ตูนไทยยังพัฒนาไม่ได้เท่าที่ควรแน่นอน ถ้าเรายังยึดติดกับวัฒนธรรม
การ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ได้มีแต่เรื่อง ซามุไร นินจา แต่การ์ตูนไทยจะมีแต่เรื่อง รามเกียรติ ไกรทอง พระอภัยมณี จ๊ะทิงจา อนิเมญี่ปุ่นเรื่องแรกคือ เจ้าหนูอะตอม ในขณะที่แอนิเมชั่นไทยเรื่องแรกคือ หนุมาน แล้วจะให้ใครดู? จะให้ใครนิยม? จะเป็นสากลได้ตรงไหน?
นอกเรื่องไปมากแล้ว ขอให้เป็นหน้าที่ของกระทรวง ICT พัฒนาต่อไป ต่อไปนี้จะพูดถึงระดับของการ์ตูนญี่ปุ่นในไทยต่อสาเหตุที่ทำให้คนไทยมองการ์ตูนเป็นเรื่องไร้สาระของเด็กนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดขายของสถานีโทรทัศน์หนึ่ง ซึ่งจัดฉายอนิเมมานาน มีนักพากษ์ที่เรารู้จักกันดี อนิเมที่ฉายอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นอนิเมที่คัดเลือกมาสำหรับเด็กเท่านั้น การพากษ์พากษ์แบบเอาใจเด็ก เวลาที่จัดฉายก็เป็นเวลาที่เหมาะกับเด็กได้ดู เช่น ช่วงเย็น เป็นต้น ซึ่งอนิเมเหล่านี้เป็นเพียงส่วนน้อยๆของอนิเมในญี่ปุ่น
ส่วนการ์ตูนที่เป็นมังงะในไทยก็มีแนวโน้มเอาใจตลาด อะไรที่ขายไม่ดีก็เลิกแปล เช่นเรื่อง กลยุทธ์ซุนจื่อ (ฮกเกี้ยนอ่านว่า ซุนวู เรื่องนี้วาดโดยหลี่จื้อชิง) ไม่มีฉากบู๊ใดๆ มีเพียงฉากของกลยุทธ์ การวิเคราะห์ที่เหนือชั้น แทบไม่มีใครรู้จัก ในขณะที่สามก๊กที่มีแต่ฉากสู้กัน (วาดโดยคนเดียวกัน) ได้รับความนิยมมาก ดังนั้น เมื่อผมไปร้านหนังสือแล้วถามหากลยุทธ์ซุนจื่อ จึงได้รับคำตอบว่า เลิกตีพิมพ์แล้ว ก็นับว่าเสียดายการ์ตูนดีๆเรื่องหนึ่ง และเมื่อการ์ตูนส่วนใหญ่ที่เรานำเข้ามาแปล ไม่มีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ อีกครั้งหนึ่ง: จึงถูกมองโดยรวมว่า ไร้สาระ
เมื่อเราได้รับข้อมูลว่าการ์ตูน (มังงะและอนิเม) เป็นของสำหรับเด็ก ดังนั้น มุมมองของเราจึงผูกติดกับคำนิยามของเด็ก ถ้าเป็นแง่ลบก็คือ ไร้สาระ เป็นแง่บวกคือ จินตนาการหรือพัฒนาสมอง เราจะไม่มีคำว่า การ์ตูนการเมือง เราไม่มีการ์ตูนสีเทา เรามีแต่การ์ตูนสีขาว พระเอกในการ์ตูนจะชั่วไม่ได้ เพราะเด็กจะเลียนแบบ แต่พระเอกในละครน้ำเน่าชั่วได้ ไม่มีใครเลียนแบบ?สังคมไทยจึงปิดและไม่ยอมรับการ์ตูนระดับอื่นๆ ที่สร้างมาสำหรับผู้ใหญ่
ภาพยนตร์สุริโยไท (ขออภัยที่เอ่ยนาม เพราะเป็นภาพยนตร์ที่ดีมากๆ) มีฉากถวายตัว ไม่มีใครว่า แต่การ์ตูนบางเล่มมีกางเกงในโผล่มานิดหน่อย โจมตีกันแบบถึงขั้นจะคว่ำบาตร
ภาพยนตร์ต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นก้าวใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของวงการภาพยนตร์ไทย มีศิลปะการต่อสู้ที่รุนแรง วิจารณ์ว่าสวยงาม การ์ตูนบางเรื่อง รุนแรงเท่ากัน แต่โดนวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม
ในด้านมืดบ้าง ภาพยนตร์ มีหนังโป๊ นิยาย มีแนวอิโรติก การ์ตูนซึ่งเป็นวรรณกรรมเช่นกัน ก็ย่อมมีการ์ตูนใต้ดินที่มีแต่เรื่องเพศ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องให้ความสำคัญในการปราบปรามเท่าๆกัน นอกจากนี้ เราเห็นหนังโป๊แล้วไม่ได้สรุปว่า ภาพยนตร์ไม่ดี ฉันใด เราเห็นการ์ตูนโป๊ ก็ย่อมสรุปไม่ได้ว่าการ์ตูนไม่ดี ฉันนั้น
แต่มุมมองทั้งหมดนี้เกิดจาก การมองว่า การ์ตูน = ของเด็กจากที่ท่านได้อ่านมา คงจะพอทราบถึงสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อแล้วว่า การ์ตูน ของเด็กการ์ตูนบางเรื่องให้ความบันเทิง เช่นเดียวกับนิยาย ภาพยนตร์การ์ตูนบางเรื่อง ให้ข้อคิด สาระ เช่นเดียวกับสารคดี หรือบทความ
ถ้าท่านมองไม่เห็นสาระที่แฝงอยู่ในการ์ตูนหลายๆเรื่อง (เอาเพียงที่มีในไทยก็ได้) ผมจะบอกว่า รายงานที่ผมทำในมัธยมปลาย รวมทั้งรายงานที่ทำในวิชาเลือกปี 4 เกี่ยวกับสงครามและสันติภาพ 70% ผมได้ข้อมูลเบื้องต้นจากการ์ตูน ที่เหลือผมไปค้นคว้าในอินเตอร์เน็ต หรือเขียนขึ้นเอง
ท่านทราบหรือไม่ว่าแรงบันดาลใจที่ผมจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในไทยนั้น ส่วนหนึ่งมาจากแรงบันดาลใจของการ์ตูนเรื่องหนึ่ง ซึ่งตัวเอกของเรื่องพยายามถึง 4 ปีในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น
ทำไมนิยายเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาได้ แต่การ์ตูนเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาไม่ได้ ทำไมผมอ่านนิยายบนม้านั่งในโรงเรียนมัธยม ไม่มีอาจารย์ว่า แต่พอหยิบการ์ตูนขึ้นมาอ่านกลับโดนยึดในข้อหานำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนมาในบริเวณโรงเรียน ทำไมเรายกย่องนิยาย แต่ไม่ยกย่องการ์ตูนที่เขียนจากเรื่องเดียวกัน ที่มีตัวหนังสือมากพอๆกับนิยายนั้น
ทำไมเรายกย่องศิลปินผู้วาดภาพอันโด่งดัง ภาพหนึ่งๆของเขาขายได้เป็นหมื่นเป็นแสน แต่เราไม่ยกย่องนักเขียนการ์ตูน ผู้วาดการ์ตูนเล่มหนึ่งๆโดยใช้ความพยายามพอๆกับศิลปินที่วาดภาพ ใช้เวลาไปไม่น้อยกว่ากัน และทุ่มเทชีวิตจิตใจในการวาดแต่ละเส้นของการ์ตูน ไม่ด้อยไปกว่าแต่ละเส้นบนภาพวาดอันมีค่า
ผมไม่ได้อ่านการ์ตูนเป็นชีวิตจิตใจ ถ้าจัดอันดับความชอบ ผมชอบนิยายมากว่า แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็กล้าบอกว่า ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบอ่านการ์ตูนเช่นกัน
หวังว่าในอนาคต เมื่อเพื่อนๆผมผู้ชื่นชอบการ์ตูนทำงานแล้ว จะไม่ลืมคำของเขาที่เคยเถียงแทนคนอ่านการ์ตูนด้วยกัน นำเข้าการ์ตูนที่มีสาระ พร้อมกับพัฒนาการ์ตูนไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยให้ทุกชนชั้นอ่านได้ และเปลี่ยนมุมมองในปัจจุบัน ให้เป็นมุมมองที่ว่า...
การ์ตูนไม่ใช่ของสำหรับเด็กอีกต่อไป
-บทความจาก Anna_Hawkins

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

คุโรซากิ บริษัทรับขนส่งศพไม่จำกัด


เป็นการ์ตูนที่อยากให้อ่านกันครับ ดีครับ เเต่การ์ตูนเรื่องนี้มัน 18+ นะครับ เเละการ์ตูนเรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ได้ย้ายไปอยู่ในหนังสือเล่มใหม่อย่าง Young Ace ตาม Evangelion ของอ.โยชิยูกิ ซาดาโมโต้ครับ โดย คุโรซากิ บริษัทรับขนส่งศพไม่จำกัด หรือ Kurosagi Corpse Delivery Service เป็นผลงานของอ.เอย์จิ โอสึกะ และโฮซุย ยามาซากิ ที่เดิมทีแล้วเคยตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ Comic Charge ซึ่งได้ปิดตัวไปเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ก็เท่ากับว่าได้ต่ออายุให้กับเรื่องนี้ต่อไปนั่นเอง นอกจากเรื่องดังกล่าวแล้วทางคาโดคาวะยังเสริมแม่เหล็กให้กับนิตยสารเล่มใหม่ นี้ด้วยการขอให้ Puyo คนเขียน Suzumiya Haruhi-chan no Yuutsu มาเขียนเรื่องใหม่ The Disappearance of Yuki Nagato-chan เพื่อเรียกลูกค้าด้วย

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไปเจอบทความน่าสนใจมาครับพี่น้อง




ถ้าท่านเดินในร้านหนังสือญี่ปุ่น ท่านจะเห็นแผนกหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ก นิยาย วรรณกรรม และการ์ตูน บนชั้นวางหรูหรา แยกหมวดหมู่สำนักพิมพ์อย่างชัดเจนในระดับเดียวกัน แต่ถ้าท่านเดินร้านหนังสือในไทย หรือแม้แต่ในอเมริกา การ์ตูนจะถูกจัดออกมากองในแผงหน้าร้าน แยกต่างหากจาก หนังสืออื่น ที่เหมาะสมจะเอาขึ้นชั้นวางมากกว่า
ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่น มือของท่านจะสัมผัสถึงเนื้อกระดาษที่แสนจะเนียน ผลิตด้วยกระดาษถนอมสายตา ถ้าเพ่งมอง ท่านจะมองเห็นจุดอันละเอียดที่เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่ประณีต แต่ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายในไทยหรืออเมริกา ท่านจะรู้สึกว่าต้องไปล้างมือ เพราะกระดาษคุณภาพแย่ยิ่งกระดาษหนังสือพิมพ์ คุณภาพงานพิมพ์ก็ห่วยจนบางครั้งหมึกเลอะหน้ากระดาษถ้าท่านเดินตามถนนญี่ปุ่น หรือไปเดินแถวๆสุขุมวิท ท่านจะเห็นผู้ใหญ่ใส่สูทผูกเน็คไท นั่งอยู่ในร้านอาหารหรูหรา กางการ์ตูนอ่านอย่างตั้งใจราวกับเป็นรายงานตลาดหุ้น แต่ถ้าท่านเดินอยู่เมืองไทย ท่านจะเห็นเด็กไร้สมองนั่งหัวเราะไปกับการ์ตูน อันนั้นไม่เท่าไหร่นักถ้าเป็นเด็ก แต่ถ้าวัยรุ่นหรือคนทำงานเปิดหนังสือการ์ตูนอ่าน หรือแม้แต่เดินถือหนังสือการ์ตูนละก็ ท่านจะรู้สึกได้ถึงสายตาที่ดูถูกเหยียดหยามระดับสติปัญญาของคนรอบข้าง
ทำไมเรากางหนังสือนิยายมังกรหยกของกิมย้งเล่มโตอ่านแล้วมีสายตาชื่นชมว่าอ่านหนังสือมีระดับ แต่เรากางหนังสือการ์ตูนมังกรหยกที่วาดโดยหลี่จื้อชิงอ่านแล้วจึงโดนดูถูกด้วยสายตาคู่เดียวกัน ผมอ่านนิยายสามก๊ก ผมเป็นผู้ทรงความรู้ ในขณะที่ผมอ่านการ์ตูนศึกสามก๊ก ผมเป็นเด็กไร้สาระ
นี่แสดงถึงระดับของการ์ตูนที่เป็นอยู่ในสังคมไทย หรือแม้แต่สังคมฝรั่ง เพื่อนผมที่อยู่ในอุรุกวัยหรืออังกฤษ ก็บ่นแบบเดียวกันรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้ สรุปว่า การ์ตูนเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นพิษภัยต่อเยาวชน โดยเสนอว่าการ์ตูนส่วนหนึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก
ผมเห็นด้วยกับรายการนั้นที่ว่าการ์ตูนบางส่วนไม่เหมาะสมกับเด็ก แต่เราจะจัดการ์ตูนเป็นของเด็กเท่านั้นหรือ?ก่อนจะวิจารณ์การ์ตูน ต้องศึกษาประวัติของการ์ตูนก่อน
คำว่า การ์ตูน (Cartoon) เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Cartone แปลว่า กระดาษใหญ่การ์ตูนกำเนิดในปี 1843 โดย John Leech วาดลงนิตยสาร Punch Magazine
หลังจากนั้นเป็นต้นมา การ์ตูนก็เริ่มแยกตัวออกจากภาพเขียน โดยมีการเขียนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา เรียกว่า Comics และมีพัฒนาการตามกระแสสังคม
การ์ตูนฮีโร่ต่างๆ ในอเมริกา สะท้อนปัญหาสังคมในขณะนั้น และมีเนื้อหาเข้มข้นเป็นที่สุดเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ขึ้น จนรัฐบาลถึงกับแบนการ์ตูนพวกนี้ระยะหนึ่ง
ประวัติของการ์ตูนของฝรั่งนั้นมีมายาวนาน แต่จะไม่ขอพูดถึงในที่นี้ เพราะหัวข้อคือ การ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ใช่การ์ตูนไทย หรือการ์ตูนฝรั่ง
คำว่า Comics ตรงกับภาษาญี่ปุ่นว่า มังงะ (漫画)มังงะ พัฒนามาจากการรวมกันระหว่าง อุกิโยเอะ (浮世絵 - ภาพเขียนแบบญี่ปุ่น) กับการเขียนภาพแบบตะวันตก มีกำเนิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง
คำว่า มังงะ มีความหมายตรงๆว่า ภาพที่ไม่แน่นอน (


Anna_Hawkinsกันยายน 2548

จากเวป hetaforce.exteen.com